โครงการบริการวิชาการ
-
ชื่อโครงการ โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี
คณะโบราณคดี -
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้ง คณะโบราณคดี ประกอบกับในปีเดียวกันนี้ก็จะมีการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศอาเซียนไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเสาหลักหนึ่งที่สำคัญ คือ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีการเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนทุกระดับ ในการทำความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของตนเอง รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วย
“องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม” ถือเป็นรากฐานที่สำคัญที่แสดงถึงจารีตประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้ให้กับชาติบ้านเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น ชุมชนและระดับชาติได้อย่างชัดเจน เป็นเอกลักษณ์ที่ควรสืบทอดและดำรงไว้ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมโลก ด้วยเหตุนี้ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับรากฐานทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในอาเซียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประชาชน เข้าใจถึงพื้นฐานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างแท้จริง
“คณะโบราณคดี” จัดเป็นหน่วยงานสำคัญของมหาวิทยาลัยศิลปากรและของชาติ ที่ดำเนินงานด้านการเรียนการสอนและผลิตบุคลากรผู้จะไปทำหน้าที่ในการดูแล ทำนุบำรุง ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบทอดและพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งได้สั่งสม องค์ความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมในมิติต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนมาเป็นระยะเวลายาวนาน
ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้ง คณะโบราณคดี จึงเห็นสมควรให้มีโครงการบริการวิชาการที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและนานาชาติ ที่คณะโบราณคดีได้สั่งสมมาตลอดระยะเวลา 60 ปี เพื่อสร้างองค์ความรู้ สืบทอด และความเข้าใจเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและนานาชาติ ให้แก่นักวิชาการ นักศึกษา บุคคลที่สนใจทั่วไปได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญต่อไป
โดยลักษณะของการดำเนินงานเผยแพร่องค์ความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีคณะโบราณคดี จะดำเนินงาน 3 ส่วน คือ
1) การเสวนาองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม 60 ปี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
2) การจัดทำชุดความรู้เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา และในวาระครบรอบ 60 ปี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
3) นิทรรศการ “ภาพถ่าย 60 ปีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร”
-
วัตถุประสงค์
-
เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรม
-
เพื่อระดมความคิดและประมวลความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ
-
เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนของชาติรับรู้ในบทบาทของคณะโบราณคดีและในการที่จะมีส่วนร่วมในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของคณะโบราณคดี
-
-
ความสอดคล้องกับแผนของมหาวิทยาลัย
แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.2556 - 2563 (ฉบับปรับแผน)
4.1) ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การมีส่วนร่วมกับชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติรวมทั้งการประยุกต์ใช้เพื่อรักษาคุณค่าและเพิ่มมูลค่าในระดับชาติและนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 10 : พัฒนามาตรฐานศิลปวัฒนธรรมและการออกแบบสู่นานาชาติ
4.2) กลยุทธ์/มาตรการ
กลยุทธ์ 10.1 : บูรณาการข้ามศาสตร์ในกิจกรรมการบริการวิชาการ การวิจัย และการจัดการเรียนการสอนในระดับชาติและนานาชาติ
มาตรการ 10.1.1 ส่งเสริมการให้บริการวิชาการข้ามศาสตร์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
กลยุทธ์ 11.1 : พัฒนาสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านศิลปวัฒนธรรมบนพื้นฐานการบูรณาการบริการทางวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
มาตรการ 11.1.1 เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่น/ภูมิปัญญาไทยสู่สากล อันจะเป็นกลไกในการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาประเทศ
กลยุทธ์ 17.1 : การขยายพื้นที่ทางการศึกษาและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคี
มาตรการ 17.1.1 สร้างความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมกับหน่วยงานภายในประเทศและนอกประเทศ
มาตรการ 17.1.2 ขยายพื้นที่การศึกษาและเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4.3) ลักษณะงาน
โครงการตามยุทธศาสตร์
งานประจำ
โครงการพิเศษตามนโยบายผู้บริหารระดับสูง
-
ประเภทโครงการ (เพื่อจัดรหัสประเภทในระบบ MIS ติดตามโครง)
101 จัดนิทรรศการ 102 จัดประกวดด้านการบริการวิชาการ
103 อบรมสัมมนา 104 อบรมเชิงปฏิบัติการ
105 ให้องค์ความรู้เชิงพัฒนา/แก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
106 เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 107 ส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
108 บูรณาการ 117 ประชุมเชิงวิชาการ
119 วารสารวิชาการ อื่นๆ
-
เป้าหมาย(ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการจากหน่วยงานใดบ้าง แยกเป็นประเภทหรือแยกตามระดับ) เช่น
-
อาจารย์ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา/หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 100 คน
-
นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และศิษย์เก่า จำนวน 100 คน
-
ผู้สนใจทั่วไป จำนวน 100 คน
-
วิทยากร และบุคลากร/เจ้าหน้าที่/นักศึกษา ปฏิบัติงาน จำนวน 100 คน
-
-
ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 – กันยายน 2558
-
สถานที่ดำเนินงาน
-
หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
-
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
-
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
-
ลานกลางแจ้ง สวนแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
-
-
ผู้รับผิดชอบโครงการ (ระบุคณะ/ภาควิชา)
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
-
แผนการดำเนินงาน
กิจกรรม
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
ต.ค.
พ.ย
ธ.ค.
ม.ค
ก.พ
มี.ค
เม.ย
พ.ค
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ขั้นวางแผนงาน
1. จัดทำโครงการเสนอขอความเห็นต่อคณะกรรมการคณะโบราณคดี/มหาวิทยาลัย
/
/
2. จัดตั้งคณะอนุกรรมการในการดำเนินงานและประสานงาน
/
/
ขั้นดำเนินการ
3. ติดต่อประสานวิทยากร
/
/
4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
/
/
/
/
5. จัดเตรียมเอกสารการการประชุมวิชาการและนิทรรศการ
/
/
/
/
6. จัดเตรียมสถานที่
/
7. จัดประชุมวิชาการและนิทรรศการ
/
/
ขั้นสรุปและประเมินผล
8. ประเมินผล
/
/
9. สรุปผลการประเมิน
/
/
/
/
-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและอาเซียน
-
ทำให้เผยแพร่องค์ความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและอาเซียน แก่บุคคลทั่วไป
-
ทำให้ประชาชนของชาติรับรู้ในบทบาทของคณะโบราณคดีและในการที่จะมีส่วนร่วมในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของคณะโบราณคดี
-