2507

:

ประวัติคณะ

คณะโบราณคดีมีอาคารเรียนเป็นของตัวเองอย่างเป็นทางการ โดยย้ายมาใช้ตำหนัก 2 หลัง ของวังท่าพระ ได้แก่ ตำหนักใหญ่หลังท้องพระโรงและตำหนักพรรณราย เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน

ตำหนักพรรณราย วังท่าพระ
ตำหนักใหญ่ หลังท้องพระโรง วังท่าพระ
ชั้น 2 ของตำหนักพรรณราย วังท่าพระ
แผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งคณะโบราณคดีที่ตำหนักพรรณราย
ที่มา : วีระ อินพันทัง และอภิรดี เกษมศุข, บรรณาธิการ. รุ่งสุริยาแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในวังท่าพระ. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2549.
ภาพถ่ายทางอากาศ บริเวณวังท่าพระ แสดงให้เห็นตำหนักพรรณราย และอาคารต่างๆ ในบริเวณวังท่าพระ เมื่อปี พ.ศ. 2489
ที่มา : ส่วนขยายจากภาพถ่ายทางอากาศชุด วิลเลี่ยม ฮันท์ , ภ.WH 2/146 , สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
นักศึกษาคณะโบราณคดีถ่ายกับป้ายคณะ บริเวณทางเข้าตำหนักพรรณรายข้างท้องพระโรงวังท่าพระ ในสมัยที่ยังใช้เป็นสถานที่เรียน
ที่มา : โบราณคดี'19. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2519.
ตำหนักใหญ่ด้านหลังท้องพระโรง
ที่มา : วังท่าพระ : ศูนย์กลางของช่างสิปป์หมู่ 200 ปี. กรุงเทพฯ : ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปกร, 2554.
ชั้นบนตำหนักพรรณราย
ที่มา : อมราลักษณ์ ฉ.วณิช
บรรยากาศการที่ตำหนักพรรณราย
ที่มา : อมราลักษณ์ ฉ.วณิช
บรรยากาศการในห้องเรียน
ที่มา : อมราลักษณ์ ฉ.วณิช
อาจารย์ผู้สอนในช่วงแรกของคณะโบราณคดี มีฐานเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัย หรือเป็นข้าราชการในกรมศิลปากร เช่น ชิน อยู่ดี ผู้สอนวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บังเอิญ มาประณีต, ปรีชา กาญจนาคม, พเยาว์ อัศวเดชา, ศรีศักร วัลลิโภดม, พันธุ์ทิพย์ ณ สงขลา, สุทธิลักษณ์ ไชยสุต และมนตรี อุมะวิชนี เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล กล่าวถึงอย่างชื่นชมว่า เป็นผู้ที่เสียสละเข้ามาทำงานในคณะโบราณคดีตั้งแต่ยังคงเป็นตำแหน่งลูกจ้าง ซึ่งท่าน ได้ส่งให้ไปเรียนต่อยังต่างประเทศเพื่อศึกษาหาความรู้ แล้วกลับมาสอนที่คณะโบราณคดีต่อไป
ที่มา : โบราณคดี 2507. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2507.